ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และความผูกพันองค์การของบุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย       :    กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2543
การเผยแพร่    :    พิมพ์ในวารสาร ทีพีไอเทค ฉบับ มีนาคม 2543.

                 การวิจัยศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ  ระดับการรับรู้และความผูกพันกับองค์การ    ของบุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  จำแนกตามเพศ  สาขาวิชาที่สอน  ตำแหน่งงาน  ประสบการณ์ในการทำงาน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน  และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ  การรับรู้และความผูกพันกับองค์กร ของบุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ได้แก่  บุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ       โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified  random  sampling)  ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  65 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้         เป็นแบบสอบถามข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ และความผูกพันกับองค์การของบุคลากร  ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าคะแนนเฉลี่ย  ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การแจกแจงค่าที (t-test)  และสหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple  Correlation)
                
ผลการศึกษาค้นคว้า
  พบว่า
                1.
  การรับรู้ของบุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอโดยรวม  อยู่ในระดับปานกลาง
                2.
  ความผูกพันขององค์การของบุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอโดยรวม  อยู่ในระดับปานกลาง
                3.
 การรับรู้ของบุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  จำแนกตามเพศ  สาขาวิชาที่สอน  ตำแหน่ง  ประสบการณ์ในการทำงาน     และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์การแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
                4.
  ความผูกพันกับองค์การของบุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  จำแนกตามเพศ  ตำแหน่ง  ประสบการณ์ในการทำงาน   และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์การแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  แต่เมื่อจำแนกตามสาขาวิชาที่สอน  พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
                
5.
  การรับรู้ของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

 

Free Web Hosting