การประเมินตนเองในการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  ประจำปีการศึกษา 2547

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย       :     มีนาคม  พ.ศ. 2548
การเผยแพร่    :     ตีพิมพ์ในหนังสือการพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษา    รวมบทความวิจัยทางด้านอาชีวศึกษา   หน้า 72-116

               การวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ครูประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน  ประเมินสภาพความพร้อมในรายวิชาที่สอน  ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของครู  และเปรียบเทียบระดับสภาพความพร้อมในรายวิชาที่สอนและผลการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  จำแนกตามเพศของครู  ตามการเตรียมตัวเรียนของนักเรียน  การขาดเรียน  และการทำแบบฝึกหัด / รายงานของนักเรียน  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ครูที่ยินยอมประเมินตนเองของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  จำนวน 44 คน  เครื่องมือที่ใช้คือ  แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  สถิติที่ใช้คือ  ค่าคะแนนเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัทธ์อย่างง่าย

            ผลการศึกษาพบว่า

            1.  นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการมาเรียน  ไม่มีการอ่านหนังสือมาก่อนเรียน  ส่วนใหญ่มีการขาดเรียน  แต่ขาดน้อยกว่า 4 ครั้ง/ภาคการเรียน/รายวิชา  มีการช่วยกันทำแบบฝึกหัดและรายงาน

            2.  สภาพความพร้อม ในรายวิชาที่เรียน อยู่ในระดับปานกลาง  โดยมีความพร้อม ในเรื่องเอกสารประกอบหรือตำรา  และความพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ของครูอยู่ในระดับสูง  ส่วนด้านอื่นๆ มีสภาพความพร้อมในระดับปานกลาง

            3.  ผลการจัดการเรียนการสอนของครูทั้งในภาครวม ในรายด้านทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเตียมการสอน  วิธีการสอน  สื่อการสอน  การวัดผล  คุณภาพ  มีระดับผลการจัดอยู่ในระดับสูง

            4.  การเปรียนเทียบสภาพความพร้อม ในรายวิชาที่สอน  ทั้งในการจำแนกตามเพศของครู  การเตรียมตัวเรียนของนักเรียน  การขาดเรียนของนักเรียน  การทำแบบฝึกหัดของนักเรียน  พบว่า  ทุกกลุ่มมีผลการประเมินไม่แตกต่างกัน

            5.  การเปรียนเทียบผลการจัดการเรียนการสอน  ทั้งในการจำแนกตามเพศของครู  การเตรียมตัวเรียนของนักเรียน  การขาดเรียนของนักเรียน  การทำแบบฝึกหัด/รายงานของนักเรียน  พบว่า  ทุกกลุ่มมีผลการประเมินไม่แตกต่างกัน

            6.  สภาพความพร้อม ของรายวิชาที่สอน กับผลการจัดการเรียนการสอนของครู โรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Free Web Hosting