พฤติกรรมและแนวทางแก้ไขปัญหาวัยรุ่นขับขี่รถจักรยานยนต์ฝ่าฝืนการจับกุมจนเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น

Behavioral and the solving for teenage’s problem : motorcycle that violate the arrested in the cause of harmful themselves and others.

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย      :     พฤษภาคม  พ.ศ. 2547 -  มีนาคม  พ.ศ. 2548
ผู้ทำวิจัย         :     ดร.วิเชียร   พันธ์เครือบุตร
ผู้ช่วยวิจัย       :     ฉัตรณรงค์   พิทักษ์ทรัพยากร
การเผยแพร่    :     นำเสนอในการประชุมวิชาการ : การวิจัยทางการศึกษาครั้งที่ 11. วันที่ 26-27 สิงหาคม 2548  ณ  โรงแรมแอมบาสซาเดอร์  กรุงเทพ.
                              จัดโดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ.

            การวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมาย    เพื่อทำความเข้าใจ พฤติกรรมของวัยรุ่น ในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ฝ่าฝืนการตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งด่านตรวจ  โดยศึกษาผ่านนักเรียนที่มีพฤติกรรม การฝ่าฝืนการตรวจและจับกุมมาแล้ว  เพื่อหาคำอธิบายที่เกิดขึ้นและใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาต่อไป   การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น  ที่ตกแต่งรถจักรยานยนต์เพื่อความสวยงามเท่านั้น  การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ศึกษากับวัยรุ่น  ในอำเภอชุมนุมเกษตร  จังหวัดเกษตรอุดม  ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากกรุงเทพมากนัก  และมีสภาพแวดล้อมคล้ายกรุงเทพ  คือมีเศรษฐกิจดี  มีโรงงานอุตสาหรรม  และมีแหล่งบันเทิงจำนวนมาก    การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักใช้วิธี สืบสานผู้เกี่ยวข้อง (Snowball)  ประกอบด้วย  วัยรุ่น  ผู้ปกครอง  และตำรวจ

            ผลการศึกษาพบว่า

            พฤติกรรมของวัยรุ่น ในการขับขี่รถจักรยานยนต์ฝ่าฝืนการตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ตั้งด่านตรวจรถจักรยานยนต์บนถนน และทางหลวง สาเหตุของปัญหาที่ค้นพบ ประกอบด้วยประเด็นใหญ่ สามประเด็น ดังนี้  ประเด็นแรก เป็นลักษณะเฉพาะของการแสดงออกโดยวัยของวัยรุ่นที่ไม่มีการแสดงออกด้านกีฬา หรือกิจกรรมอื่น รวมทั้งลักษณะของการเลียนแบบเพื่อนเพื่อการยอมรับเข้ากลุ่ม     ประเด็นที่สอง เป็นลักษณะของการสนับสนุนโดยตรงและโดยอ้อมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซึ่งต่างมีเหตุผลในการสนับสนุนให้เกิดปัญหา  ประเด็นสุดท้าย เป็นลักษณะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของวัยรุ่นได้อย่างเต็มที่ ภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ

          แนวทางในการแก้ปัญหาพฤติกรรมของวัยรุ่น ในการขับขี่รถจักรยานยนต์ฝ่าฝืนการตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ตั้งด่านตรวจรถจักรยานยนต์บนถนน และทางหลวง  แนวทางหนึ่งที่สามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาได้คือ การสร้างความร่วมมือของพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับ ครู  ซึ่งสามารถแยกออกเป็น สองแนวทางคือ 1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบ้านและโรงเรียน คือระหว่างพ่อแม่ กับครู เพื่อให้เกิดการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและอารมณ์ ของนักเรียน การอยู่ร่วมกันกับเพื่อน และผลการแทรกแซงทางบวกร่วมกัน 2) การสร้างทัศนคติในการใช้และการขับขี่รถจักรยานยนต์ ให้มีการใช้จิตวิทยาวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มีความคิดเป็นของตนเอง แต่อ่อนไหวง่าย ให้ใช้ความคิดไปในทางที่สร้างสรรค์ ที่เกิดประโยชน์ และพัฒนาตามความถนัดของแต่ละบุคคล ซึ่งในที่สุดก็จะลดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ได้

            ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการในระยะเวลาหนึ่ง พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน วัยรุ่นคนหนึ่งที่เป็นนักเรียนและมีอิทธิพลต่อเพื่อนในกลุ่มค่อนข้างสูง ได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากการแต่งรถมาเป็นการพัฒนาเครื่องยนต์ อันนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สิ่งประดิษฐ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     

 

Free Web Hosting