ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนแบบหลักสูตรความร่วมมือโรงเรียน-โรงงานระยะที่ 2 (พ.ศ.2542-พ.ศ.2546) โรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย       :   พฤษภาคม  พ.ศ. 2547
การเผยแพร่    :     ตีพิมพ์ในหนังสือคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา :  รวมผลงานวิจัยอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดระยอง ระยอง : พีเอสการพิมพ์. 2547. หน้า 60-151

                  การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบหลักสูตรความร่วมมือโรงเรียน-โรงงานของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  2)  เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลในดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบหลักสูตรความร่วมมือโรงเรียน-โรงงาน  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  จำแนกตามระดับการศึกษาและสาขาวิชาของนักเรียนที่เกี่ยวข้อง  3)  เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการจัดการฝึกงานแบบโรงเรียน – โรงงาน  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  4)  เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการจัดการฝึกงานแบบโรงเรียน – โรงงาน  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  จำแนกตามระดับการศึกษาและสาขาวิชาของนักเรียนที่เกี่ยวข้อง  5)  เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนกับประสิทธิผลในการจัดการฝึกงานแบบโรงเรียน – โรงงาน  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  โดยศึกษาผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียน – โรงงาน ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  ที่ดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 – ปีการศึกษา 2546  จากผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การฝึกงาน  และผู้รับนักเรียนเข้าทำงานในทุกหน่วยงาน  กลุ่มตัวอย่างคือ  บุคลากรของสถานประกอบการทุกหน่วยงานจำนวนกลุ่มตัวอย่าง  74 คน  ตัวแปรอิสระที่ใช้ศึกษาคือระดับการศึกษา  และสาขาวิชาของนักเรียน  ตัวแปรตามคือ  ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนแบบหลักสูตรความร่วมมือโรงเรียน-โรงงาน  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ และประสิทธิผลในการจัดการฝึกงานแบบโรงเรียน – โรงงาน  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้แนวคิดในเรื่องการจัดการและบริหารหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ  ประกอบด้วย  4 ตอน  ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ และมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ  ค่าคะแนนเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test)  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way  ANOVA)  การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson  s  moment  Product)
                
ผลการศึกษาพบว่า
                
1.  ประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนแบบหลักสูตรความร่วมมือโรงเรียน-โรงงาน  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอน  จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า  ระดับ ปวช. และ ปวส.  มีระดับประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน  เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนจำแนกตามสาขาวิชาพบว่า  สาขาวิชาช่างยนต์และเคมีปฏิบัติการมีระดับประสิทธิผลแตกต่างกับสาขาวิชาช่างกลโรงงาน  เทคนิคอุตสาหกรรม และช่างอิเล็กทรอนิกส์  ส่วนสาขาวิชาอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
                2.  ประสิทธิผลการจัดการฝึกงานแบบโรงเรียน-โรงงาน  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ด้านความรู้ทักษะหลังการฝึกงานและด้านรูปแบบเนื้อหาในการฝึกงานอยู่ในระดับดี  ส่วนด้านอื่นๆอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการฝึกงานจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า ระดับ ปวช. และ ปวส.  มีระดับประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน  เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการฝึกงานจำแนกตามสาขาวิชาพบว่า  สาขาวิชาช่างยนต์มีระดับประสิทธิผลแตกต่างกับสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์  ช่างกลโรงงาน  และเทคนิคอุตสาหกรรม  ส่วนสาขาวิชาอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
                3.  ประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนกับประสิทธิผลการจัดการฝึกงานแบบโรงเรียน-โรงงาน ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์

 

Free Web Hosting