การศึกษาความพร้อมในการจัดการศึกษา  สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดระยอง

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย       :    ธันวาคม  พ.ศ. 2543
คณะทำงาน    :    นายสมยศ  ศิริบรรณ.  นางเพียรผจง  ศิวะโกเศศ.  นายวิเชียร  พันธ์เครือบุตร.  นางสุมิตรา  ปัณราช.
การเผยแพร่    :    จัดพิมพ์เป็นรายงานการวิจัย เผยแพร่ใน 1) องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดระยอง  2) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด.

                    การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความพร้อมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดระยอง   ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในจังหวัดระยอง ประกอบด้วย  เจ้าอาวาสครู/พี่เลี้ยง เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลและนักวิชาการศึกษา  จำนวน 500 คน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการสุ่มตัวอย่างจากประชากร  ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย จำนวน 116 คน  แบ่งเป็นเจ้าอาวาส/ครูพี่เลี้ยง จำนวน 56 คน  เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 56 คน  และนักวิชาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คน     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เป็นแบบสอบถามเลือกตอบ และมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale)  5  ระดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS for Windows
                
ผลการวิจัยพบว่า
                1.
  ความพร้อมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดระยอง  ในภาพรวมและรายด้านทั้ง  4 ด้าน  คือ  ด้านบุคลากร  ด้านการจัดการ  ด้านเครื่องมือ วัสดุ / อุปกรณ์  ด้านงบประมาณ  อยู่ในระดับปานกลาง
                2.
  การเปรียบเทียบความพร้อมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน    ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดระยอง  จำแนกตามทัศนะของ วัด / มัสยิด      องค์การบริหารส่วนตำบลและผู้ที่เกี่ยวข้อง
                ความพร้อมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเมื่อเปรียบเทียบตามหน่วยงาน
  พบว่าในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   โดยความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการจัดการจัดการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดระยองของกลุ่มอื่นๆ  เช่น   นักวิชาการศึกษา ฯลฯ  แตกต่างกับกลุ่ม วัด / มัสยิด  และกลุ่มองค์การบริหารส่วนตำบล  อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .01  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบุคลากร  ด้านการจัดการ  ด้านเครื่องมือ / วัสดุ / อุปกรณ์ / สถานที่  กลุ่มวัด / มัสยิด ,  องค์การบริหารส่วนตำบลและกลุ่มอื่น  เช่น  นักวิชาการ  เกษตรอำเภอ    มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  ส่วนด้านงบประมาณนั้น  กลุ่มอื่นๆ เช่น  นักวิชาการ  เกษตรอำเภอ  ฯลฯ  มีความคิดเห็นแตกต่างกับกลุ่มวัด / มัสยิด และกลุ่ม  อบต.  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                3.
  เปรียบเทียบความพร้อมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดระยอง  จำแนกตามระดับองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน  5 กลุ่ม  (แบ่งตามรายได้)
                
ความพร้อมในการดำเนินการเมื่อเปรียบเทียบตามระดับของ
  อบต.  พบว่า  อบต. ชั้นที่ 1 , อบต. ชั้นที่ 2 , อบต. ชั้นที่ 3 , อบต. ชั้นที่ 4 , อบต. ชั้นที่ 5      ในภาพรวมและรายด้าน  แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

Free Web Hosting