องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน  แบบความร่วมมือโรงเรียน-โรงงาน (โรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ)

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย     :   มิถุนายน  พ.ศ. 2546
การเผยแพร่  :   1. นำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี สมศ. วันที่ 15 พย. 2546 ณ.ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์. กทม.  
                         2. ตีพิมพ์ในหนังสือ  ผลงานวิจัยด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา. สมศ. กรุงเทพฯ. หน้า 74-82.
                         3. ได้รับการบรรจุในทำเนียบ ผลงานการวิจัยด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา. สมศ.ประจำปี 2546.

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของของวิจัยดังนี้  1)  เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอนแบบความร่วมมือโรงเรียน - โรงงานของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  2) เพื่อจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนแบบความร่วมมือโรงเรียน - โรงงานของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  คือ  ผู้ที่ทำการสอน  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 -   ปีการศึกษา 2545  และนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ระดับ  ปวช.  และ ปวส.  ในปีการศึกษา 2545  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย   ได้จากกลุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้นจากประชากรที่กำหนดตามสัดส่วนจากตารางการสุ่มของเครจซี และ มอร์แกนได้จำนวนรวม  202 คน  โดยใช้ประเภทเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชั้น   เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น   โดยใช้แนวคิดเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบความร่วมมือโรงเรียน -โรงงาน และแนวทางการบริหารหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ    ประกอบด้วย  2  ตอน   คือ    ตอนที่ 1   เป็นแบบสอบถามเกี่ยวับข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม   ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ  จำนวน  1 ข้อ   ตอนที่ 2  เป็บแบบสอบถามความเห็นในเรื่องระดับการดำเนินการจัดการเรียนการสอน  มีข้อคำถามรวม  20 ข้อ  ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ  คือ  ดีมาก  ดี  ปานกลาง  ปรับปรุง  และควรปรับปรุงมาก    ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  SPSS  for  WINDOWS  การหาจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม  ใช้การหาค่าร้อยละ  การหาผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอน  แบบความร่วมมือโรงเรียน - โรงงาน  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  ใช้การหาค่าเฉลี่ย  และความเบี่ยงเบนมาตราฐาน        การหาค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาใช้การหาค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สันการวิเคราะห์องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอนแบบความร่วมมือโรงเรียน - โรงงาน  ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ  (Factor  Analysis)
             จากการวิเคราะห์องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน  แบบความร่วมมือ  โรงเรียน - โรงงาน  ของโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  ได้องค์ประกอบสำคัญในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม  3   องค์ประกอบ  โดยเรียงตามลำดับความสำคัญมากไปหาน้อย  ได้ดังนี้
            1.  องค์ประกอบด้านทักษะ    องค์ประกอบด้านทักษะประกอบด้วยตัวแปร   8  ตัวแปร  คือ  1)  อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเรียนการสอน (.828)   2)  การจัดอาคารเรียน ห้องเรียน สิ่งแวดล้อม (.824)
 3)  ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกงานในโรงงาน (.682)   4)  การนำความรู้ไปใช้เป็นพื้นฐานการศึกษา(.641)   5)  การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ (.619)   6)  รูปแบบฝึกงานในโรงงาน (.584)    7)  การฝึกปฏิบัติในโรงเรียน (.569)    8)   ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาตามหลักสูตร (.506)
            2.  องค์ประกอบด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้    องค์ประกอบนี้ประกอบด้วยตัวแปร   6  ตัวแปร   คือ  1)  ความเหมาะสมของสายวิชาที่เรียนวิชาเลือก (.830)   2)   การจัดแผนการเรียน (.800)   3)   ความเหมาะสมของรายวิชาที่เรียนวิชาพื้นฐาน (.748)    4)   ความเหมาะสมของรายวิชาที่เรียนวิชาชีพ (.696)   5)   กระบวนการเรียนการสอน (.531)   6)   ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติในโรงเรียน (.460)
            3.  องค์ประกอบด้านการนำความรู้ไปใช้    องค์ประกอบนี้  ประกอบด้วยตัวแปร   5  ตัวแปร   คือ   1)  ความรู้ที่ได้จากการฝึกงานในโรงงาน (.739)   2)  การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ (.674)   3)  การพัฒนาทักษะฝีมือ (.669)   4)  การนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ (.665)   5)  พื้นฐานความรู้เดิม (.354)
            องค์ประกอบทั้ง  3  สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้  ร้อยละ  55.859

 

     

 

Free Web Hosting