แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศของผู้นำ ในการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย       :     .. 2546 – .. 2548
ผู้ทำวิจัย         :      
ดร. วิเชียร  พันธ์เคริอบุตร 
                               
นางนำพิชญ์  ธรรมหิเวศน์ 
การเผยแพร่    :     

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศของผู้นำ ในการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  การวิจัยนี้ใช้กระบวนการ วิจัยเชิงคุณภาพ ในการศึกษาเอกสาร(content analysis) การสัมภาษณ์ระดับลึก (indepth interview) ร่วมกับการสังเกต(observation) ทั้งแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสภาพแวดล้อมภายใต้บริบทของสถาบันฯ ที่ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และ สมศ. ประชากรที่ศึกษา คือผู้นำ และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 39 สถาบัน กลุ่มตัวอย่าง เป็นการศึกษากับผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยวิธีการสืบสานผู้เกี่ยวข้อง(Snowball) ทั้งที่เป็นผู้นำ ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ ผู้ปฎิบัติงานที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในนโยบายประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน จนกระทั่งข้อมูลอิ่มตัว โดยสถาบันการศึกษาที่ใช้ศึกษา เป็นการเลือกแบบเจาะจงที่พิจารณาคัดเลือกสถาบันจากผลงานของสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และ สมศ. ให้ครอบคลุมส่วนกลางและ 4 ภาค  ภาคละ 2 สถาบัน รวม 8 สถาบันการศึกษา

ผลการวิจัย แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศของผู้นำ ในการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้นำสถาบันการศึกษา  ต้องใช้ศักยภาพในการนำบุคลากรให้ร่วมมือดำเนินการ ด้วยการมีภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ (Transformation Leadership) พยายามเปลี่ยนแปลงผู้ตาม และเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ตามให้สูงขึ้น มีศักยภาพขึ้น โดยผ่านองค์ประกอบพฤติกรรมที่สำคัญ 4 ประการคือ

1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเชื่อมั่น สร้างศรัทธามุ่งมั่นพัฒนา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

2. การสร้างแรงบันดาลใจ ด้วยการสร้างแรงจูงใจภายใน กระตุ้นคนทำงานได้ ด้วยการมีอิสระในการทำงาน การได้แสดงออกตามความรู้ความสามารถ ได้แสดงศักยภาพหรือทักษะ มีทัศนคติที่ดีร่วมมือปฏิบัติและพัฒนาตนเอง

3. การกระตุ้นทางปัญญา โดยการให้บุคลากรตระหนักถึงปัญหา ด้วยการให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการทำงาน  สร้างทีมงานในการเรียนรู้ ทำงานแทนกันได้และให้คำปรึกษาชี้แนะกัน ตลอดจนจัดกลไกในกระบวนการประกันคุณภาพภายในให้สามารถปฎิบัติงานได้อย่างสะดวกราบรื่น

4. การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล โดยการให้ความสำคัญกับทุกงานของทุกคน  รู้จักและดูแลบุคลากรเป็นรายคน เพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม

 

Free Web Hosting