ภูมิลำเนาและแรงจูงใจในการมาชมงานที่ส่งผลร่วมกันต่อความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลผลไม้และของดี จังหวัดระยอง  ประจำปี 2547

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย   มิถุนายน  พ.ศ. 2547
ทุนวิจัย   ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานจังหวัดระยอง.

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยองประจำปี 2547  2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง  ประจำปี 2547  จำแนกตามประเภทผู้ชม  ภูมิลำเนาและสถานภาพ และ  3) เปรียบเทียบภูมิลำเนาและแรงจูงใจในการมาชมงานที่ส่งผมร่วมกันต่อความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง ประจำปี 2547  กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากผู้ชมงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง  ประจำปี 2547  ที่จัดขึ้น ณ  ตลาดกลางผลไม้ตะพง ตั้งแต่วันที่  1-9  พฤษภาคม  25547  จำนวน  1224 คน  เครื่องมือที่ใช้คือ  แบบสอบถามจำนวน  3 ตอน  เป็นแบบเลือกตอบ  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ  และแบบปลายเปิด  สถิติที่ใช้ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าคะแนนเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test)  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way  ANOVA)  และการวิเคราะหความแปรปรวนแบบสองทาง (two-way  ANOVA)  
            ผลการศึกษาพบว่า
            1.  ผู้เข้าชมงานส่วนมากจะเป็นประชาชนบุคคลทั่วไป  รองลงมาคือนักเรียนนักศึกษา  ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เข้าชมงานทั่วไป  มีทั้งคนในพื้นที่จังหวัดระยองและคนนอกพื้นที่จังหวัดระยองที่เป็นนักท่องเที่ยว  แรงจูงใจสำคัญของการมาชมงานเพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมของจังหวัด  รองลงมาคือมาท่องเที่ยว  ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่จะทราบข่าวการจัดงานจากป้ายประกาศ
            2.  ความพึงพอใจในการจัดงาน พบว่า  ผู้เข้าชมงานมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน  พบว่า  มีเพียงด้านการประชาสัมพันธ์เท่านั้นที่ผู้ชมงานมีความพึงพอใจในระดับพึงพอใจมาก  ส่วนด้านสถานที่  ด้านการต้อนรับและการอำนวยความสะดวก  และด้านการจัดกิจกรรมผู้ชมงาน  มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
            3.  การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการจัดงาน พบว่า  1) ผู้จัดงานมีความพึงพอใจในการจัดงานสูงกว่าผู้เข้าชมงาน  2) คนในพื้นที่จังหวัดระยองมีความพึงพอใจในการจัดงานสูงกว่าคนนอกพื้นที่หรือนักท่องเที่ยว  3) ข้าราชการมีความพึงพอใจสูงกว่าบุคคลทั่วไป
            4.  การเปรียบเทียบภูมิลำเนาและแรงจูงใจส่งผลร่วมกันต่อความพึงพอใจในการจัดงานโดยรวม  โดยผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดระยองที่มาด้วยแรงจูงใจเพราะเป็นกิจกรรมของจังหวัด  มีความพึงพอใจสูงกว่าผู้ที่มาชมงานด้วยแรงจูงใจมาท่องเที่ยว
            5.  ความเห็นในการจัดกิจกรรม  พบว่า  ผู้เข้าชมงานมีความสนใจในกิจกรรมประกวดรถผลไม้มากที่สุด และเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่จัดได้ดีที่สุด  อย่างไรก็ตามก็ยังเห็นว่าควรมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

     

 

Free Web Hosting