กิจกรรมที่มีผลต่อความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย   มิถุนายน  พ.ศ. 2546
การเผยแพร่   ตีพิมพ์ในหนังสือ กิจกรรมที่มีผลต่อความพึงพอใจในการจัดงานจังหวัดระยอง.  ระยอง.พีเอสการพิมพ์  :  หน้า 1-75.

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ   (1)  ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง  (2)  ศึกษาและเปรียบเทียบระดับผลการจัดกิจกรรมในงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง  (3)  จัดลำดับกิจกรรมที่น่าสนใจในการจัดงาน  และ (4) สร้างสมการพยากรณ์ความพึงพอใจในการจัดงานจากกิจกรรมที่จัดแสดงในงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง  ประจำปี 2546  ที่จัดขึ้น  ณ ตลาดกลางผลไม้ตะพง  ตั้งแต่วันที่  21-29  มิถุนายน 2546  จำนวน  516 คน  เครื่องมือที่ใช้คือ  แบบสอบถามจำนวน  4 ตอน  เป็นแบบเลือกตอบ  แบบมาตราส่วนประมาณค่า   5 ระดับ   และแบบปลายเปิด  สถิติที่ใช้ได้แก่  ค่าคะแนนเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงแบนมาตราฐาน  การทดสอบค่าที  (t-test)  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  (one-way ANOVA)  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ   (Multiple Regression)
            ผลการศึกษาพบว่า
            1.  ความพึงพอใจในการจัดงานตลอดระยะเวลาในการจัดงาน  พบว่า  ผู้เข้าชมงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาแยกเป็นช่วงตามระยะเวลา  พบว่า  ในวันเปิดงานมีความพึงพอใจในระดับมาก  แต่ในช่วงอื่นๆ ผู้เข้าชมงานมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
            2.  การเปรียบเทียบความพึงพอใจการจัดงาน  จำแนกตามประเภทผู้เข้าชม  ภูมิลำเนา  สถานภาพ  แรงจูงใจการมาชมงาน   พบว่า    ความพึงพอใจในการจัดงานของผู้เข้าชมงานในแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่ทั้งในภาพรวม และรายด้าน  มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน  ยกเว้นกลุ่มนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจแตกต่างกับกลุ่มอื่นๆ  ในด้านการประชาสัมพันธ์การต้อนรับ และในภาพรวม
            3.  ผลการจัดกิจกรรมในงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง ตลอดระยะเวลาการจัดงาน  พบว่า  มีผลการจัดงานอยู่ในระดับดี
            4.  การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมของผู้เข้าชมงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง จำแนกตามประเภทผู้เข้าชม  ภูมิลำเนา  ช่วงเวลาการจัด  สถานภาพและแรงจูงใจการมาชมงาน   พบว่า   ส่วนใหญ่ทั้งในภาพรวมและรายด้านมีความเห็นในเรื่องผลการจัดกิจกรรมไม่แตกต่างกัน  ยกเว้นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความเห็นแตกต่างกับกลุ่มอื่นในกิจรรมกลุ่มการประกวด  กิจกรรมกลุ่มการแข่งขัน   และผลการจัดกิจกรรมในภาพรวม
            5.  กิจกรรมที่ผู้เข้าชมงานสนใจมาก  3 ลำดับแรก คือ  1)  การประกวดผลไม้  2)  สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ  3)  การจำหน่ายผลไม้
            6.  กิจกรรมที่มีผลต่อความพึงพอใจในการจัดงานมี  2 กิจกรรม  คือ  กิจกรรมกลุ่มการแสดง/การสาธิต และกิจกรรมกลุ่มการจำหน่ายผลิตภัณฑ์  โดยทั้ง  2  กลุ่ม   สามารถร่วมกันใช้ทำนายความพึงพอใจในการจัดงานได้ร้อยละ 17.80  มีความคลาดเคลื่อนในารทำนาย .5742
            7.  สมการพยากรณ์ความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง คือ
            ความพึงพอใจในการจัดงาน   =  1.911  +  2.55  (กิจกรรมการแสดง/สาธิต)  +  .155  (กิจกรรมจำหน่ายผลิตภัณฑ์)

     

 

Free Web Hosting