การศึกษาระดับจิตพิสัยของนักเรียนนักศึกษาโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอหลังการใช้จิตพิสัยสอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอนปีการศึกษา 2541

bar04_solid1x1_white.gif

ปีที่ทำวิจัย       :    ธันวาคม  พ.ศ. 2542
คณะทำงาน    :    นายวิเชียร  พันธ์เครือบุตร.  นางสาวสมคิด  ลาภขจร.
การเผยแพร่    :    การสัมมนาวิชาการโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ   2542.

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับจิตพิสัยของนักเรียน  นักศึกษาโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ  หลังการใช้กระบวนการเรียนการสอนจิตพิสัย โดยศึกษาจากจิตพิสัย  5 ด้าน  คือ  ความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์  ความมีน้ำใจ  ความมีวินัย  ความเป็นไทย  การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทย
            
กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาวิจัยได้แก่  นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)โรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ จังหวัดระยองที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา 2541  จำนวน 268 คน   เครื่องมือวัดระดับจิตพิสัยหลังการใช้กระบวนการเรียนการสอนจิตพิสัย เป็นแบบสอบถาม   มาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ  สถิติที่ใช้ได้แก่  ค่าคะแนนเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจกแจงค่าที (t-test)
            
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
            
1.  จิตพิสัยโดยรวมของนักเรียนระดับ  ปวช.  และนักศึกษาระดับ  ปวส.  อยู่ในระดับปานกลาง
            2.
  จิตพิสัยด้านความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับ  ปวช.  และนักศึกษาระดับ  ปวส.    แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
            3.
  จิตพิสัยด้านความมีน้ำใจของนักเรียนระดับ  ปวช.  และนักศึกษาระดับ  ปวส.    แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
            4.
  จิตพิสัยด้านการบริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทยของนักเรียนระดับ  ปวช.  และนักศึกษาระดับ  ปวส.    แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
            5.
  จิตพิสัยด้านความเป็นไทยของนักเรียนระดับ  ปวช.  และนักศึกษาระดับ  ปวส.    แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
            6.
  จิตพิสัยด้านความมีวินัยของนักเรียนระดับ
  ปวช.  และนักศึกษาระดับ  ปวส.    แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p < .01)

     

 

Free Web Hosting